ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นค้าสินค้า

ราคาสินค้า

  [Help]
dot
bulletของขวัญปีใหม่ ปีมังกร ปีมะโรง ปี2567 ปี2024
bulletของขวัญตรุษจีน
bulletสินค้ามาใหม่
จี้กังหัน แหวนกังหัน แชกงหมิว ฮ่องกง
bulletจี้กังหันฮ่องกง
bulletจี้กังหันทองคำขาว
bulletแหวนกังหันผู้หญิง
bulletแหวนกังหันผู้ชาย
bulletต่างหู กังหันนำโชค
bulletกำไลกังหัน
bulletแผ่นทองมงคล เรียกทรัพย์
bulletเทพเจ้ากวนอู
bulletเจ้าแม่กวนอิม
bulletพระสังกัจจายน์
bulletฮก ลก ซิ่ว
bulletเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย
bulletเทพซิ่ว เทพแห่งอายุยืน
bulletเจ้าแม่ทับทิม
ชินราช โสธร พระแก้ว หลวงปู่ทวด
bulletพระพุทธชินราช
bulletหลวงปู่ทวด
bulletพระแก้วมรกต
bulletหลวงพ่อโสธร
bulletพระนาคปรก
bulletสมเด็จพุฒาจาร์ยโต
bulletหลวงพ่อบ้านแหลม
พระพิฆเนศ
ของขวัญแต่งงาน
bulletของขวัญแต่งงาน
bulletหงส์มังกร
dot
สัตว์มงคล สัตว์นำโชค มังกร ม้า คางคกสามขา ปลามงคล เสือ
dot
bulletมังกรมงคล
bulletปลามงคล
bulletม้ามงคล
bulletช้างมงคล
bulletคางคกสามขา ( เซียมซู )
bulletแมวกวักนำโชค
bulletปีเซี๊ยะ
bulletสิงห์คู่
bulletเต่ามังกร
bulletอินทรีย์
bulletเสือมงคล
bulletหมูมงคล
bulletนกกระเรียนคู่
dot
dot
bulletสับปะรด มงคล
bulletลูกท้อ
bulletก้อนทอง ถังทอง
bulletต้นไม้มงคล
bulletผักกาดมงคล
bulletส้มมงคล
bulletกรอบรูปแผ่นทอง
ของขวัญรับปริญญา
bullet12 นักษัตร
bulletปีชวด หรือ ปีหนู
bulletปีฉลู หรือ ปีวัว
bulletปีเถาะ ปีกระต่าย
bulletปีมะเมีย หรือ ปีม้า
bulletปีวอก หรือ ปีลิง
bulletปีระกา หรือ ปีไก่
bulletปีกุน หรือ ปีหมู


ประวัติแชกงหมิว กังหัน วัดแชกงหมิว ฮ่องกง
รีวิววัดแชกงหมิว


ประวัติพระโพธิสัตว์กวนอิม article

พระโพธิสัตว์กวนอิม

พระโพธิสัตว์กวนอิม เทพเจ้าจีน กวนอิม กวนอิมปางต่างๆ กวนอิมปางสมาธิ กวนอิมปางตรัสรู้ ตุ๊กตาจีน เทพเจ้าจีน ของขวัญตรุษจีน ของขวัญมงคล สินค้ามงคล ของขวัญผู้ใหญ่ ทองแท้99.99 รูปปั้นทอง ของขวัญวันเกิด

         พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นเสมือนปุคคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง
         เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปฺรชฺญาปารมิตาสูตฺร , สทฺธรฺมปุณฑรีกสูตฺร และการณฺฑวยูหสูตฺร

ความหมายของพระนาม
       คำว่า อวโลกิเตศวร ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายนัยด้วยกัน แต่โดยรูปศัพท์แล้ว คำว่าอวโลกิเตศวรมาจากคำสันสกฤตสองคำคือ อวโลกิต กับ อิศวร แปลได้ว่าผู้เป็นใหญ่ที่เฝ้ามองจากเบื้องบน หรือพระผู้ทัศนาดูโลก ซึ่งหมายถึงเฝ้าดูแลสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์นั่นเอง
         ซิมเมอร์ นักวิชาการชาวเยอรมันอธิบายว่า พระโพธิสัตว์องค์นี้ทรงเป็นสมันตมุข คือ ปรากฏพระพักตร์อยู่ทุกทิศ อาจแลเห็นทั้งหมด ทรงเป็นผู้ที่สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คืออาจจะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใดก็ได้ แต่ทรงยับยั้งไว้เนื่องจากความกรุณาสงสารต่อสรรพสัตว์
    
นอกจากนี้นักปราชญ์พุทธศาสนาบางท่าน ยังได้เสนอความเห็นว่า คำว่า อิศวร นั้น เป็นเสมือนตำแหน่งที่ติดมากับพระนามอวโลกิตะ จึงถือได้ว่าทรงเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์เดียวที่มีตำแหน่งระบุไว้ท้ายพระนาม ในขณะที่พระโพธิสัตว์พระองค์อื่น หามีไม่ อันแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญยิ่งของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
    
พุทธศาสนิกชนชาวจีนจะรู้จักพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ในพระนามว่า กวน ซี อิม หรือ กวนอิม ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต คือผู้เพ่งสดับเสียงแห่งโลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักให้อรรถาธิบายเป็นใจความว่า หมายถึง พระผู้สดับฟังเสียงคร่ำครวญของสัตว์โลก (ที่กำลังตกอยู่ในห้วงทุกข์) คำว่ากวนซีอิมนี้พระกุมารชีวะชาวเอเชียกลางผู้ไปเผยแผ่พระศาสนาในจีน เป็นผู้แปลขึ้น ต่อมาตัดออกเหลือเพียงกวนอิมเท่านั้น เนื่องจากคำว่าซีไปพ้องกับพระนามของ จักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลีซีหมิง นั่นเอง

พระโพธิสัตว์กวนอิม เทพเจ้าจีน กวนอิมบนมังกร เจ้าแม่กวนอิมบนมังกร เทพเจ้าจีน รูปปั้นจีน รูปปั้นทอง ของขวัญตรุษจีน ของขวัญมงคล เสริมโชคลาภ ของขวัญวันเกิด ของขวัญมงคล ของมงคลตกแต่งบ้าน ของขวัญผู้ใหญ่ กวนอิมปางยืน     พระโพธิสัตว์กวนอิม เทพเจ้ากวนอิม กวนอิมยืน เจ้าแม่กวนอิม เทพเจ้าจีน ของขวัญมงคล ของมงคล สินค้ามงคล ของขวัญวันเกิด ของขวัญปีใหม่ ของขวัญผู้ใหญ่ ตุ๊กตาจีนทอง รูปปั้นทอง รูปปั้นจีนทอง ของมงคลแต่งบ้าน เสริมฮวงจุ้ย

 พระอวโลกิเตศวรในฐานะเป็นพระธยานิโพธิสัตว์

 พุทธศาสนามหายานได้จำแนกพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท อันได้แก่ พระมนุษิโพธิสัตว์ และ พระธยานิโพธิสัตว์

  • พระมนุษิโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ในสภาวะมนุษย์ หรือเป็นสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่น ๆ ที่กำลังบำเพ็ญสั่งสมบารมีอันยิ่งใหญ่ เพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐ ถ้าตามมติของฝ่ายเถรวาทก็คือผู้ที่ยังเวียนว่ายอยู่ใน วัฏสงสาร เพื่อบำเพ็ญ ทศบารมี ๑๐ ประการให้บริบูรณ์ เหมือนเมื่อครั้งสมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ทรงกระทำมาในอดีต โดยที่ทรงเสวยพระชาติเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์จนได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระศากยมุนีพุทธเจ้า

    การบำเพ็ญบารมีดังกล่าวนี้เป็นความยากลำบากแสนสาหัส สำเร็จได้ด้วยโพธิจิต อีกทั้งวิริยะและความกรุณาอันหาที่เปรียบมิได้ ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานนับด้วย กัปอสงไขย สิ้นภพสิ้นชาติสุดจะประมาณได้
     
  • พระธยานิโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ประเภทนี้มิใช่พระโพธิสัตว์ผู้กำลังบำเพ็ญบารมีเพื่อแสวงหาดวงปัญญา อันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งเหมือนประเภทแรก แต่เป็นพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีบริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว และสำเร็จเป็นพระธยานิโพธิสัตว์หรือพระโพธิสัตว์ในสมาธิ โดยยับยั้งไว้ยังไม่เสด็จเข้าสู่พุทธภูมิ เพื่อจะโปรดสรรพสัตว์ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด

    พระธยานิโพธิสัตว์นี้เป็นทิพยบุคคลที่มีลักษณะดังหนึ่งเทพยดา มีคุณชาติทางจิตเข้าสู่ภูมิธรรมขั้นสูงสุด และทรงไว้ซึ่งพระโพธิญาณอย่างมั่นคง จึงมีสภาวะที่สูงกว่าพระโพธิสัตว์ทั่วไป

    พระธยานิโพธิสัตว์มักจะมีภูมิหลังที่ยาวนาน เป็นพระโพธิสัตว์เจ้าที่สำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์มาเนิ่นนานนับแต่สมัยพระอดีตพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สุดจะคณานับเป็นกาลเวลาได้ พระธยานิโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานรู้จักดี อาทิ พระมัญชุศรี พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปต์ พระสมันตภัทร พระกษิติครรภ์ เป็นต้น

 

 ประวัติความเป็นมาในคัมภีร์ฝ่ายมหายาน

 

เจ้าแม่กวนอิม กวนอิมพันมือ พระโพธิสัตว์กวนอิมพันมือ เจ้าแม่กวนอิมพันมือ เทพเจ้าจีน ของขวัญผู้ใหญ่ ของขวัญมงคลจีน ของขวัญตรุษจีน ของขวัญมงคล สินค้ามงคล เสริมฮวงจุ้ย เสริมมงคล เสริมมงคลตกแต่งบ้าน          พระไตรปิฎกของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ไม่มีปรากฏเรื่องราว หรือแม้แต่พระนามของพระอวโลกิเตศวรอยู่เลย ทว่าในส่วนของนิกายมหายานแล้ว พระอวโลกิเตศวรมีบทบาทปรากฏอยู่มากในพระสูตรสำคัญ ๆ และยังมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรมหายานว่า  พระพุทธเจ้าและพระสาวกยังได้เคยตรัสสนทนาธรรมกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้อยู่บ่อยครั้งทีเดียว  ในพุทธศาสนามหายานยกย่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ว่าเป็นพระผู้ได้รับธรรมจักรมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และเป็นผู้นำในการรักษาพระพุทธศาสนาและหมุนธรรมจักรต่อไป

           การอุบัติของพระอวโลกิเตศวรนี้ สันนิษฐานว่ามีขึ้นภายหลังการเกิดนิกายมหายานขึ้นแล้ว ในราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ ภายหลังพุทธปรินิพพาน ซึ่งเมื่อตรวจสอบจากวรรณคดีสันสกฤตยุคต้น ๆ ของมหายานอย่าง ชาดกมาลา ทิวยาวทาน หรือลลิตวิสตระ ก็ยังไม่ปรากฏนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แต่อย่างใด

          แต่มีปรากฏขึ้นครั้งแรกพร้อม ๆ กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ในพระสูตรปรัชญาปารมิตา ซึ่งถือว่าเป็นพระสูตรมหายานรุ่นเก่าที่สุด และในพระสูตรรุ่นต่อ ๆ มาก็ได้มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ปรากฏขึ้นมากมาย

          พระสูตรมหายานกล่าวว่า พระอวโลกิเตศวรประทับอยู่ ณ สุขาวดีพุทธเกษตร คอยช่วยพระอมิตาภะโปรดสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ และเนื่องจากทรงเป็นพระธยานิโพธิสัตว์ จึงมีความเป็นมาอันยาวนานสุดจะคาดคำนวณได้ นับแต่สมัยของ พระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นต้นมา ก็ทรงได้โปรดสัตว์มาเป็นลำดับ จนถึงบัดนี้ อันเป็นกาลสมัยของ พระสมณโคดมศากยมุนีพุทธเจ้า ก็เป็นระยะเวลาเนิ่นนานสุดจะพรรณนา

          ใน กรุณาปุณฑริกสูตร อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวร เป็นพระธรรมกายโพธิสัตว์ สูงกว่าพระโพธิสัตว์สามัญอื่น ๆ และเป็นเอกชาติปฏิพัทธะเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์อารยเมตตรัย กล่าวคือ เป็นผู้ที่ยังข้องอยู่กับการเกิดอีกเพียงชาติเดียว ก็จะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ กล่าวกันว่า พระอวโลกิเตศวรจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายหลังการดับขันธปรินิพพานของพระอมิตาภะ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป ณ แดนสุขาวดี

            นอกจากนี้ในพระสูตรมหายานอื่น ๆ ก็ยังมีปรากฏว่า อธิบายแตกต่างออกไปอีก กล่าวคือ บางพระสูตรกล่าวว่าพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์นั้น แท้จริงแล้วคืออวตารภาคหนึ่งของพระอดีตพุทธเจ้า ที่ได้ทรงบรรลุพุทธภูมิเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะแล้ว ในอดีตกาลอันยาวไกล ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าของเรา
แต่ด้วยพระมหากรุณาที่เล็งเห็นสรรพสัตว์ยังตกอยู่ในโมหะอวิชชา ทำให้ต้องทนทุกข์อยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏยากจะหลุดพ้นไปได้ จึงทรงแบ่งภาคมาเป็นพระอวโลกิเตศวร เพื่อโปรดปวงสัตว์ให้เห็นธรรมพ้นทุกข์ด้วยพระเมตตากรุณา

           ในบางแห่งก็กล่าวว่า พระอวโลกิเตศวรเป็นพุทธโอรสของพระอมิตาภะที่ทรงบันดาลด้วยพุทธาภินิหาริย์ให้อุบัติขึ้นมา เพื่อเป็นที่พึ่งแก่โลก แต่ทางฝ่ายทิเบตเชื่อว่าพระอวโลกิเตศวรอุบัติขึ้นมาพร้อม ๆ กับพระนางตารา ด้วยอานุภาพของพระอมิตาภพุทธ จากแสงสว่าง (บางแห่งว่าเป็นน้ำพระเนตรจากความกรุณาสงสารสรรพสัตว์) ที่เปล่งออกมาจากพระเนตรเบื้องขวาของพระอมิตาภะ ได้บังเกิดเป็นพระอวโลกิเตศวรประทับบนดอกบัวที่ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กับมนตร์ โอม มณี ปัทเม หูม ส่วนแสงจากพระเนตรเบื้องซ้ายก่อให้เกิดพระนางตาราโพธิสัตว์ อย่างไรก็ตาม ในพระสูตรอื่นบางแห่งก็มีกล่าวว่าแท้จริงแล้วพระอวโลกิเตศวร ก็คือภาคหนึ่งขององค์พระอมิตาภะนั่นเอง

 

 ลักษณะทางประติมานวิทยา

 

             ภาพเขียนหรือรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรเริ่มแรกนิยมสร้างเป็นรูปบุรุษหนุ่ม ทรงเครื่องอลังการวิภูษิตาภรณ์อย่างเจ้าชายอินเดียโบราณ และมีอยู่หลายปางด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญคือศิราภรณ์บนพระเศียรพระอวโลกิเตศวรจะต้องมีรูปของพระอมิตาภะในปางสมาธิ หากเป็นปางที่มีหลายเศียร เศียรบนสุดจะเป็นเศียรพระอมิตาภะ นับเป็นข้อสังเกตในด้านปฏิมากรรมของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้

           ส่วนดอกบัวอันเป็นสัญญลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร คือ บัวสีชมพู ขณะที่สีขาวคือบัวของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เท่านั้น และด้วยดอกบัวสีชมพูในตระกูลปัทมะนี้เอง ทำให้พระองค์ได้รับการขนานพระนามว่า ปัทมปาณีโพธิสัตว์      

           เมื่อพระพุทธศาสนามหายานได้เข้าสู่ประเทศจีนในช่วงแรกคือ สมัยก่อนราชวงศ์ถัง ในยุคนั้นรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรยังสร้างเป็นรูปบุรุษตามแบบพุทธศิลป์ของอินเดีย หากในกาลต่อมาช่างชาวจีนได้คิดสร้างเป็นรูปสตรีเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร สะท้อนถึงความรู้สึกและความเชื่อของประชาชนพื้นถิ่นที่ห่างไกลแม่แบบซึ่งมาจากอินเดีย จนอาจจะเรียกได้ว่า กวนอิม ในรูปลักษณ์ของสตรีเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจีน และแพร่หลายมากกว่าปางอื่น ๆ 

           กระทั่งแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย ทั้งนี้เพราะรูปลักษณ์ของฝ่ายหญิงแทนค่าในเรื่องความเมตตากรุณาได้ดี ในขณะที่รูปลักษณ์อย่างบุรุษเพศ จะสะท้อนเรื่องคุณธรรมมากกว่าความเมตตา เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปยังเกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม พุทธศาสนิกชนในประเทศนั้นก็พลอยสร้างรูปพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีตามแบบอย่างประเทศจีนไปด้วย

 เรื่องราวในสทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตร     

          สัทธรรมปุณฑรีกสูตร เป็นที่นับถือโดยทั่วไปทั้งในทิเบต จีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะนิกายเทียนไท้ทั้งในจีนและญี่ปุ่น รวมถึงนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่นอีกด้วย 
 
         ในญี่ปุ่นเจ้าชายโชโตกุได้ทรงแต่งอรรถกถาอธิบายความพระสูตรนี้ แม้ว่าเนื้อหาหลักของคัมภีร์นี้จะเป็นการอรรถาธิบายถึงหลักการของมหายานคือ สัจจะเอกยาน และสอนมีศรัทธาในพระสัทธรรมอันเป็นหนึ่งเดียว แต่ในตอนหนึ่งได้มีการกล่าวสรรเสริญอานุภาพแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไว้ในบทหนึ่งชื่อว่า “ สมันตมุขปริวรรต ” ว่าด้วยการสำแดงร่าง เพื่อโปรดสัตว์ของพระอวโลกิเตศวร 

         เนื้อความในบทนี้เริ่มต้นด้วยการสนทนาระหว่างพระอักษยมติกับพระศากยมุนีพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่องราวในอดีตกาลของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ข้อความหลายตอนที่มีความสำคัญ อาทิ

           "ก็แลในขณะนั้น พระอักษยมติโพธิสัตว์ ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าแล้วประนมมือเฉพาะพระพักตร์ พระพุทธองค์ กราบทูลถามปัญหาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ได้รับสมญานามว่า อวโลกิเตศวร ด้วยเหตุอันใด พระพุทธเจ้าข้า" 

          พระพุทธองค์จึงมีพระสุรเสียงตรัสตอบพระอักษยมติโพธิสัตว์ว่า “ ดูกร ท่านอักษยมติ ก็สัตว์โลกอันมีจำนวนนับด้วยร้อย พัน หมื่น แสน หรือแม้ที่นับจำนวนประมาณมิได้ก็ดี หากว่ากำลังเสวยทุกข์ทรมานอยู่แล้วไซร้ ครั้นได้ยินชื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์องค์นั้น ตั้งจิต สวดพระนามท่าน พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ก็จะเพ่งไปยังเสียงนั้น สัตว์โลกผู้นั้นก็จะได้รับการปลดเปลื้องจากความทุกข์และทรมานทั้งสิ้นในทันที...ด้วยเหตุนี้แล พระโพธิสัตว์เจ้าองค์นั้น จึงได้รับสมญานามว่า อวโลกิเตศวร

          รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมารคือ สรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัสถ์พันเนตร

          ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรสันสกฤตคือ สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัม   
           ปุรณ อกิญจน มหากรุณาจิตรธารณีสูตร มหากรุณามนตร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มหากรุณาธารณีสูตร นำเข้าไปแปลในจีนโดย พระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ “ มหากรุณาหฤทัยธารณี ” เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาต แสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์   

           ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่า พระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า “ สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลาย ในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง ”     

           ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า “ ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล ” เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศ ก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต   

           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง          
 
           จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุ และพันหัสต์แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ 

           บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีน ซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โด ย Dr.Lokesh Chandra แ ละตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ.1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป

          ในพระสูตรตอนเดียวกัน พระพุทธองค์ได้สรุปอานุภาพของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ไว้ว่า “... ก็จริยาของพระอวโลกิเตศวรนั้น สามารถตอบสนองในที่ทุกแห่ง มีคำปฏิญญาลึกยิ่งกว่าทะเล ได้ผ่านกาลนับเป็นกัลป์นับไม่ถ้วน เฝ้าพระพุทธเจ้ามานับพันแสนพระองค์ ตั้งมหาปณิธานอันบริสุทธิ์ เราจะกล่าวแก่เธอโดยย่อ ได้ยินชื่อแลเห็นกายของท่าน ตั้งใจระลึกถึงโดยไม่ว่างเว้น สามารถดับทุกข์ทั้งหลายได้ 

           หากผู้มีจิตคิดมุ่งร้าย หวังผลักให้ตกลงไปในกองเพลิงใหญ่ ด้วยอำนาจสวดพระนามอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ กองเพลิงย่อมกลับกลายเป็นบ่อน้ำ หรือหากพลัดพเนจรไปในทะเลใหญ่ มีภัยจากนาค ปลา ผี เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งการระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ คลื่นก็ไม่อาจซัดสาดให้จมน้ำได้ หรืออยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ มีคนผลักให้ตกลง ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ผู้นั้น)จะลอยอยู่ในอากาศเหมือนดวงอาทิตย์ หรือถูกคนร้ายไล่ตกจากเขาวชิระ ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ก็ไม่ต้องบาดเจ็บแม้แต่น้อย แม้เพียงขนเส้นเดียว

          หรือถูกโจรผู้มีเวรล้อมอยู่ ต่างถือศาสตราวุธจะเข้ามาทำร้าย ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (โจรเหล่านั้น)ต่างเกิดเมตตาจิตทันที หรือต้องรับทุกข์เพราะอาญาราชย์ จวนถูกประหารชีวิตจะจบสิ้น ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มีดก็จะหักชำรุดไปเป็นท่อน ๆ หรือถูกขัง ต้องขื่อคา เท้าและมือถูกล่ามไว้ด้วยโซ่ตรวน ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เครื่องพันธนาการ) ได้หลุดไปทันที 

          คำสาปแช่งและยาพิษที่จะเป็นผลร้ายต่อร่างกาย ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (พิษร้าย) กลับไปสู่ตัวผู้สาปแช่ง หรือไปพบพานรากษสบาป นาคมีพิษและเหล่าผีเป็นต้น ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ก็ไม่กล้าทำร้ายได้เลย หากสัตว์ร้ายรายล้อมตัวอยู่ มีเขี้ยวเล็บคมเป็นที่น่ากลัวเกรง ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ต่างก็รีบหนีไปไกลแสนไกล งูพิษและแมลงมีพิษร้าย มีไอพิษเหมือนควันไฟ ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ต่างหนีกลับไปหมด

          เมฆทะมึน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก ลมฝนพายุใหญ่ ด้วยอำนาจระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ สัตว์โลกต้องทุกข์ทรมาน ทุกข์เบียดเบียนชั่วอสงไขย ด้วยอำนาจสวดพระนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ สามารถบำบัดทุกข์ในโลกธาตุนี้ได้ มีอำนาจอิทธิฤทธิ์พร้อมสรรพ โปรดด้วยสติ อุบายอันกว้างขวาง โลกธาตุต่าง ๆ ทุกสิบทิศ ไม่มีเกษตรใดที่ไม่ปรากฏกาย ในทุคติวิสัยต่าง ๆ นรก เปรต สัตว์ อสุรกาย ความทุกข์เกิดจาก แก่ เจ็บ ตาย จะค่อย ๆ ดับไป... ”  

 

พระสหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวร
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพันหัสต์พันเนตร
  

 

         รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมารคือ สรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัสถ์พันเนตร

         ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรสันสกฤตคือ สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัม

         ปุรณ อกิญจน มหากรุณาจิตรธารณีสูตร มหากรุณามนตร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มหากรุณาธารณีสูตร นำเข้าไปแปลในจีนโดย พระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ “มหากรุณาหฤทัยธารณี ” เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาต แสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์

         ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่า พระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลาย ในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง ”   

         ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า “ ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล ” เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศ ก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต

          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง

          จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุ และพันหัสต์แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์

           บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีน ซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โด ย Dr.Lokesh Chandra แ ละตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ.1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป

ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกสารอ้างอิง 

- คณาณัติจีนพรต (เย็นบุญ) , หลวงจีน. และ เลียง เสถียรสุต , มหากรุณาธารณี , กรุงเทพ ฯ   : ไทยวรศิลป์การพิมพ์ , ๒๕๔๗.

- ชะเอม แก้วคล้าย , สัทธรรมปุณฑรีกสูตร , กรุงเทพ ฯ   : คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย , ๒๕๔๗.

- Chandra,Lokesh, The thousand arms Avalokite ? vara, Delhi :Abhinav, 1988.

- Dayal, Har,The Bodhisattva Doctrine in Buddhist Sanskrit Literature, Delhi : Motilal Banarsidass, 1975.

- McGovern,An Introduction to Mahayana Buddhism,Vanarasi  : Sahityaratan Malakarijalaya, 1967.




ประวัติเทพเจ้าจีน

ประวัติเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย article
ประวัติเทพเจ้ากวนอู กวนอู article
ประวัติฮก ลก ซิ่ว หรือสามเซียน article
ประวัติพระสังกัจจาย์



Richystar.com Copyright ©2005-2011 All Rights Reserved. สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ห้ามมิให้ทำการคัดลอก ดัดแปลง หรือ แก้ไข รูปภาพ ตลอดจนบทความ ไปใช้ก่อนได้รับการอนุญาต จากริชชี่สตาร์ ดอด คอม